3 ข้อที่ต้องอ่านก่อนเลือกผ้าม่าน Blackout

|
3 ข้อที่ต้องอ่านก่อนเลือกผ้าม่าน Blackout
3 ข้อที่ต้องอ่านก่อนเลือกผ้าม่าน Blackout

ทำความรู้จักผ้าม่าน Blackout เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความมืดสนิท เช่น ห้องนอน หรือห้องดูหนัง

ผ้าม่านที่เป็นที่นิยมของคนไทยอันดับ 1 ในวันนี้ คือ ผ้าม่าน Blackout เนื่องจากหลายคนชอบนอนมืด ๆ และต้องการให้ผ้าม่านกันแสงแดดแรง ๆ ได้ ทำให้ผ้าม่าน Blackout เป็นที่นิยม แต่ทั้งนี้การเลือกผ้าม่าน Blackout ก็มีความสำคัญมากเพราะถ้าไม่เข้าใจอาจจะทำให้ได้ผ้าม่านที่ไม่ตรงกับความต้องการได้


1. ผ้าม่าน Blackout มืดเพียงพอหรือไม่

ผ้าม่าน Blackout เป็นผ้าม่านที่มีคุณสมบัติทึบแสงแต่ละร้านผ้าม่านจะเรียกไม่เหมือนกัน บางร้านผ้าม่านที่ทึบแสง 100% เท่านั้นถึงจะเรียกผ้า Blackout ในขณะที่บางร้านนับรวมผ้า Dim out ที่กันแสง 85% 90% 95% เป็นผ้า Blackout ด้วยและวิธีการทดสอบที่ง่ายที่สุดคือ การเอาไฟฉายจากมือถือส่องผ่านหลังผ้าเพื่อดูระดับการกรองแสงว่าเพียงพอกับที่เราต้องการหรือไม่

Tips : ผ้าม่าน Blackout สามารถลดเสียงสะท้อนจากภายนอกได้อีกด้วย


2. รูปทรงของผ้าม่าน

เนื่องจากผ้า Blackout ที่นำมาทำผ้าม่านแต่ละชนิดจะทิ้งตัวไม่เหมือนกัน เพราะการเคลือบวัสดุด้านหลังมีผลต่อทรงของทรงผ้าเป็นอย่างมาก บางแบบเป็นลอนสวยงามไม่บานออกแม้จะไม่รีดอัดจีบ บางแบบรูปทรงจะมีความแข็งตัว บางแบบจะบานออก แต่บางแบบก็สามารถอัดจีบให้เป็นทรงได้ ซึ่งทรงผ้าม่านเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ลูกค้าได้มีห้องที่สวยตรงตามความต้องการ

วิธีสังเกตตัวผ้า Blackout คือ ต้องดูผ้าจากผลงาน หรือนำผ้าชิ้นนั้นขนาดใหญ่เอามาลองจับลอนที่หัวผ้าแล้วปล่อยให้ชายทิ้งตัวตามธรรมชาติ จะทำให้เราพอเห็นทรงของผ้าม่านคร่าวๆได้ ถ้าโครงสร้างแนวตั้งชายผ้าจะไม่บานออก แต่ถ้าส่วนชายผ้าบานออกจะเป็นเพราะผ้าที่มีโครงสร้างแนวนอนซึ่งจะทำให้ไม่สวยเมื่อติดตั้ง ยกเว้นกรณีที่ลูกค้าชอบผ้าม่านแบบอัดจีบ

Tips : ผ้าที่ทำผ้าม่านแล้วทิ้งตัวเป็นลอนไม่บานออกแม้ไม่รีดอัดจีบเป็นที่นิยม สำหรับตัวที่ลูกค้าเลือกมักจะมีลาย หรือโครงสร้างแนวตั้งมากกว่าแนวนอน


3. การดูแลรักษาเนื้อผ้าม่านแต่ละชนิด

ในการทำความสะอาด ผ้าม่าน Blackout จะต้องดูว่าผ้าม่าน Blackout เป็นแบบใด ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. ชนิดเคลือบโฟม : เป็นผ้าม่านที่เคลือบด้านหลังด้วยโฟม มีความหนามากกว่าผ้าม่าน Blackout ชนิดอื่นๆ ในความหนาจะช่วยกันแสง และยังช่วยซับเสียงได้บางส่วน ข้อควรระวังคือ เรื่องของการหลุดของโฟมซึ่งง่ายมากๆ อาจจะมาจากการขีดข่วน หรือการติดกันของเนื้อโฟม ในส่วนของการซักผ้าม่านจะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะเวลาตากแล้วเนื้อโฟมมักจะติดกัน หลาย ๆ ร้านผ้าม่านไม่รับซักผ้าหลังโฟม และหลายคนเลือกที่จะใช้จนเก่าแล้วทิ้งโดยไม่ซัก ซึ่งไม่เหมาะกับผ้าที่ติดฝุ่นง่าย

2. ชนิดเคลือบซิลิโคน : พัฒนาขึ้นมาจากชนิดเคลือบโฟม โดยเคลือบด้านหลังของผ้าด้วยซิลิโคนช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ผ้าม่านทิ้งตัว ขึ้นลอนสวยและรักษารูปทรงได้ดี การดูแลรักษาชนิดเคลือบซิลิโคนสามารถซักและรีดได้ เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่าชนิดเคลือบโฟม แต่การรีดผ้าม่านต้องใช้ไฟอ่อนเท่านั้น โดยจะรีดจากด้านหน้าของผ้าไม่รีดด้านที่เป็นซิลิโคน และต้องระวังเรื่องการยับของผ้าที่เป็นรอยหักให้ดี เพราะบางกรณีไม่สามารถรีดลบรอยยับนั้นได้

3. ชนิดหลังผ้า : หน้าและหลังจะใช้ผ้าเดียวกันแทรกด้วยยางดำอยู่ชั้นกลาง แล้วรีดอัดเป็นผืนเดียวกัน สวยงามทั้ง 2 ด้าน การดูแลรักษา ชนิดหลังผ้าสามารถซักได้ แต่ตัวเนื้อผ้าจะแข็งกว่าสองแบบแรก บางตัวไม่ทิ้งตัวเป็นลอนโค้ง ตอนเลือกต้องลองดูทรงของผ้าม่านให้ดีว่าเป็นแบบที่ต้องการหรือไม่อีกทั้งผ้าบางตัวก็ยับง่าย

TAG : , , ,

สินค้าที่ใกล้เคียงกัน